วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ไม่น่าเลย

จากที่ทิ้งท้ายไว้เมื่อบทความชิ้นที่แล้วว่า ผมจะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าในมุมที่เราๆท่านๆไม่ค่อยได้รับรู้กัน วันนี้มาแล้วครับ
ขอออกตัวก่อนครับ ว่าข้อมูลที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นข้อมูลที่ได้จากนิตยาสารรายสัปดาห์ชื่อดังฉบับหนึ่ง ซึ่งผมเองได้พยายามขอความอนุเคราะห์ไปยังเจ้าของคอลัมน์ทางอีเมลล์ไปแล้ว แต่เวลาผ่านไปก็ยังไม่ได้รับการตอบรับเลย ว่าจะอนุญาติให้เผยแพร่หรือไม่อย่างไร ก็ตัดสินใจอยู่หลายวัน จึงได้ข้อสรุปว่า ยังไงก็จะนำเสนอในตามเนื้อหาในคอลัมน์นั้น แต่จะมีการตัดทอนแต่งเติมบ้างเล็กน้อยเพื่อความกระชับ ลื่นไหลของเนื้อหา อย่างที่บอกไปว่า ผมยังไม่ได้รับการตอบรับมาว่าเจ้าของข้อมูลจะอนุญาติให้เผยแพร่หรือไม่ ดังนั้นถ้าเกิดเจ้าของคอลัมน์หรือนิตยาสารฉบับนี้จะฟ้องร้อง ผมก็คงต้องยอมละครับ(หวังว่าคงไม่) เสียวเหมือนกันเรื่องลิขสิทธิ์เอยหรือทรัพย์สินทางปัญญาเอย นี่ ผมมีความรู้ด้านนี้น้อยเหลือเกิน แต่อยากให้ข้อมูลเหล่านี้เป็นที่รับรู้กันในวงกว้างออกไป เพื่อเปิดมุมมองใหม่ๆ เพื่อไม่ให้เรารับฟังข้อมูลแต่เพียงด้านเดียว แล้วหลับหูหลับตาเชื่อตามที่เค้ากล่าวอ้างกัน
อาจจะไปกระตุ้นผู้อ่านที่ชอบค้นคว้าและมีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นจริง แล้วท่านอาจเอาความรู้ที่ได้ มาแชร์อีกต่อนึงก็เป็นได้ นั่นนับเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง สำหรับสังคมเรา เกริ่นมาเยอะแล้วขอเข้าเรื่องเลยนะครับ


"รถยนต์ไฟฟ้าทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษมากกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันและก๊าซเป็นสองเท่า" นั้นคือข้อสรุปของงานวิจัย ของนายกียุม มาเจโย-เบตเตซ(Guillaume Majeau-Bettez) นักศึกษาปริญญาเอก คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนอร์วีเจี้ยน ประเทศนอร์เวย์
งานวิจัยชิ้นนี้ถูกเผยแพร่เมื่อปี 2553
หลังจากมีการเผยแพร่ออกไป ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง มีการกล่าวหาเพื่อดิสเครดิตงานวิจัยชิ้นนี้ว่า ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากบริษัทน้ำมัน สเตตออยล์ ของนอร์เวย์ ทางด้านนายกียุมและทีมวิจัย ก็ได้ออกมายืนยันว่า บริษัทน้ำมันที่ว่า ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องสนับสนุนงานวิจัยแต่อย่างใด ส่วนที่มาเงินทุนสนับสนุนการวิจัยนั้น ได้รับมาจากสภาการวิจัยแห่งชาติของนอร์เวย์โดยตรง


งานวิจัยชิ้นนี้ ได้ทำการทดสอบประเมินคุณภาพของแบตเตอรี่ นิเกิลเมทัลไฮไดร(Nikle Metal Hydride)และแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน(Li-Ion)โดยใช้สมมุติฐานสองประเด็นดังนี้


1 ที่มาของแบตเตอรี่ที่นำมาใช้กับรถยนต์ไฟฟ้า
2 ที่มาของพลังงานที่นำมาป้อนให้รถยนต์และแบตเตอรี่


นอกจากนั้นทีมวิจัยยังทำการทดสอบโดยการขับรถยนต์ไฟฟ้าเป็นระยะทาง150,000 กิโลเมตร เปรียบเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันและก๊าซในระยะทางที่เท่ากัน ผลการทดสอบ แสดงให้เห็นว่า รถยนต์ไฟฟ้าสร้างผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อนมากกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันและก๊าซ โดยมีแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเป็นตัวการสำคัญ เนื่องจากที่มาของวัตถุดิบและพลังงานที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ชนิดนี้
ทางด้าน แอนเดอร์ แฮมเบอร์ สตรอมแมน (Ander Hammer Stromman)ผู้ร่วมการวิจัยได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า กระบวนการผลิต การใช้งาน การจัดการแยกชิ้นส่วนหลังการใช้งาน ล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นส่วนที่เป็นแบตเตอรี่และมอเตอร์ไฟฟ้า เนื่องจากมีการใช้แร่โลหะหนัก เช่นนิเกิล ทองแดง อะลูมิเนียมฯลฯ เป็นวัตถุดิบในการผลิต


สตรอมแมนแนะแนวทางสำหรับปัญหานี้ว่า ถ้ารถยนต์ไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนโดยพลังงานทางเลือกอื่นๆเช่นลม หรือแสงอาทิตย์ นั้นจึงจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง


เวลาผ่านไปกว่าสามปี หลังจากงานวิจัยชิ้นนี้ถูกเผยแพร่ แม้จะมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง แต่สายการผลิตของรถยนต์ไฟฟ้า เลือกที่จะมองข้ามงานวิจัยนี้ไปและยังคงเดินหน้าต่อไป ด้วยเชื่อกันว่า รถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้


รัฐบาลอังกฤษอนุญาติให้ นิสสัน เปิดโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า รุ่น Leaf ที่เมืองซันเดอร์แลนด์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ในขณะที่อเมริกา ก็เริ่มต้นโครงการ อีวี( Electric Vehicle Project)มีเชฟโรเลตรุ่น Volt และนิสสัน Leaf เข้าร่วมโครงการ โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนอเมริกันหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้น


ที่มา: มติชนสุดสัปดาห์ 28 มิ.ย.-4 ก.ค. 56
สำหรับท่านที่เก่งภาษาสามารถค้นคว่้าเพิ่มเติมได้ตามลิงค์นี้ครับ ส่วนผม มึนตึ้บครับผม http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1530-9290.2012.00532.x/full


คราวหน้าผมจะมีเรื่องราวได้มาฝากคงต้องรอติดตามกันต่อไป สำหรับวันนี้ สวัสดีวันแม่ครับทุกท่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าวดี มีมานานแล้วครับ

กราบสวัสดีคุณผู้อ่านที่รักทุกท่านอีกครั้งหนึ่ง หลังจากห่างหายไปจากการอัพเดต​บล็อค​ไปนาน ผมก็ขออนุญาต​กลับมาทำหน้าที่อีกครั่งหนึ่ง สำหรับวั...