วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เมรัย และความเป็นไปของมนุษยชาติ

เมื่อประมาณหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้มีเวลาว่างจากหน้าที่การงานนิดหน่อย เลยไปนั่งอ่านหนังสือเล่นๆในห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ แถวๆบ้าน ถือโอกาสไปเยี่ยมเจ้าเหมียวตัวนี้ด้วยครับ


เจ้าเหมียวตัวนี้ผมไม่ตั้งชื่อให้มัน เวลาไปถึง ถึงไม่เรียกชื่อ มันก็จะเดินมาหา เป็นแมวลักษณะดีใช้ได้ แม้ไม่ตรงตามตำรา แต่จัดว่าน่ารักน่าชังพอดู เป็นตัวเมีย ตอนนี้กำลังท้องแก่ ผมไม่คิดว่ามันเป็นแมวจรจัดหรอก คิดว่ามันมีบ้านมีเจ้าของอยู่แถวๆนี้แหละ มาที่นี่ทีไรเป็นต้องเจอเจ้านี่อยู่เสมอเลย วันไหนมีข้าวมีขนมก็แบ่งๆให้กินบ้าง เจ้าเหมียวก็จะเข้ามาคลอเคลียออดอ้อนให้ผมลูบเนื้อลูบตัว เกาคางสางขน เป็นประจำทุกวันเวลาไม่เคยเหนื่อยล้า กับม้าลายยย เอิ้กๆๆหลงมาเป็นเนื้อเพลงบุษบาซะแล้ว




วันนั้นผมเลือกหยิบเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิกฉบับภาษาไทย ของเดือนกุมภาพันธ์ ปีนี้เอง เอามาอ่านแก้เซ็งครับเนื้อหาหลักๆมีอยู่สี่ห้าเรื่องที่จำได้








เรื่องแรกเป็นเรื่องของโซเชียลมีเดีย พูดถึงที่มาของสื่อโซเชียลมีเดียตั้งแต่เพิร์ทมาจนถึงแอพพลิเคชั่นไลน์ บทบาท อิทธิพลตลอดจนผลกระทบต่างๆต่อสังคมมนุษย์ของโซเชียลมีเดีย ไลฟ์สไตล์ของคนในสังคมกับสื่อสังคมออนไลน์






เรื่องต่อมาพูดถึงอุทยานแห่งชาติในอเมริกาท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เนื่องจากการละลายอย่างรวดเร็วของธารน้ำแข็งอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ส่งผลให้ต้นสนในอุทยานเริ่มยืนต้นตาย ที่มาที่ไปของการเกิดอุทยานแห่งชาติในอเมริกาตลอดจนแนวคิดเริ่มแรกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  และการปรับกระบวนทัศน์ในเรื่องการอนุรักษ์ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน








เรื่องที่สาม กล่าวถึงการต่อสู้เพื่อสิทธิของหญิงม่ายในหลายประเทศทั่วโลก เรื่องนี่ผมอ่านผ่านๆ กลัวหดหู่ครับบั่นทอนพลังชีวิตเปล่าๆปลี้ๆ เลยไม่ค่อยใส่ใจรายละเอียดเท่าไหร่ จริงๆเรื่องราวประมาณนี้ผมรับได้สบายเลยนะ สิวๆมาก แต่ไม่รับดีกว่า มันเครียดไปหน่อย




เรื่องที่สี่เป็นเรื่องการอพยพย้ายถิ่นของแมวป่าซึ่งมีมากมายหลากหลายสายพันธุ์ ที่ดำรงชีวิตกระจัดกระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก








เรื่องที่ห้า เป็นเรื่องของการนำเสนอแนวคิดใหม่เรื่องวิวัฒนาการของมนุษย์กับการค้นพบหลักฐานสำคัญ ที่บ่งชี้ว่า การถือกำเนิดของเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของมนุษย์ อย่างมีนัยสำคัญ โบ้วว น่าสนใจใช่ไหมละครับคุณผู้โชมมม เอ้ย คุณผู้อ่าน เอิ้กๆๆๆ ผมจะขยายความให้ฟังสักนิดหน่อยพอเรียกน้ำย่อย ส่วนผู้อ่านท่านใดสนใจรายละเอียดที่มากกว่าที่ผมนำมาเล่าให้ฟัง ก็ตามไปอุดหนุนกันได้ครับตามแผงหนังสือใกล้บ้านท่าน ไม่ก็หาอ่านเอาตามห้องสมุดแบบผมเลยก็ประหยัดดี แอร์เย็นด้วย เอิ้กๆๆ


ครับ เรื่องมีอยู่ว่า คุณมาร์ติน ซานโคว์ เขาเป็นอาจารย์ที่สอนวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการหมักเบียร์ที่มหาวิทยาลัยมิวนิค ประเทศเยอรมัน พี่แกมีทีมวิจัยเกี่ยวกับหัวข้อที่ผมจั่วหัวเรื่องไว้นั่นแหละครับ ทีมวิจัยของแก ได้ค้นพบหลักฐานเก่าแก่ที่สามารถระบุได้ว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ที่มาจากการหมักอย่างจงใจจากภูมิปัญญาของมนุษย์นั้น มีมายาวนานกว่า 9000ปีแล้ว ที่แหล่งโบราณคดีเจี่ยหู ประเทศจีน คุณแพทริก แมกกัพเวิร์น นักโบราณคดีชีวโมเลกุล จากมหาวิทยาลัย เพนซิลวาเนีย หนึ่งในทีมวิจัยระบุว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ที่ค้นพบเหล่านั้นหมักจากข้าวเจ้า น้ำผึ้ง และผลไม้ โว้วว วิเคราะห์กันได้ถึงขนาดนั้นเชียวครับ แค่ฟังก็อยากจะลองลิ้มชิมดูซะแล้วละครับคุณผู้อ่าน นอกจากนี้ ยังพบหลักฐานเก่าแก่กว่า 7400ปีเกี่ยวกับการหมักเบียร์และไวน์ที่เทือกเขาคอเคซัสจอร์เจีย และเทือกเขาซาครอสในประเทศอิหร่านอีกด้วย


ทีมนักวิจัย ให้แนวคิดแบบนี้ครับ ว่า น่าจะมีไพรเมท(บรรพบุษร่วมของคนเราและลิง)สักตัวหนึ่ง ได้ลองชิมผลไม้ที่สุกงอมจนใกล้เน่า ที่หล่นลงมาจากต้นจนเกลื่อนพื้น ไอ้เจ้าผลไม้ใกล้เน่านี่เองที่มีเอททานอล(แอลกอฮอลล์ที่กินได้)ตามธรรมชาติ ซึ่งเอททานอลนี้ มีคุณสมบัติในการช่วยให้สาร เซโรโทนีน โดพามีน และเอนดอร์ฟินหลั่งออกมาในสมองของคนกินครับ สารสองตัวแรกอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูเราๆท่านๆนัก แต่เอนดอร์ฟินนี่มันพอผ่านๆหูผ่านตาอยู่บ้างนะผมว่า สารเหล่านี้เองมันทำให้คนเรารู้สึกผ่อนคลาย เคลิบเคลิ้ม มีความสุข นั่นเองละครับ พอได้ลองกิน มันก็เมา พอเมาแล้วก็ติดใจว่างั้นเถอะ ทีมนักวิจัยได้สันนิฐานอีกว่าอีกว่า หลังจากที่ไพรเมทเริ่มติดอกติดใจการกินผลไม้ใกล้เน่า ได้สักพักแล้ว หลังจากนั้น ได้พบว่ามีการกลายพันธ์ของยีน ADH4(ใครเก่งวิทยาศาสตร์มาบอกหน่อยว่ามันคืออัลไล) ซึ่งยีนตัวนี้ เค้าบอกว่ามีความสามารถในการย่อยเอททานอลได้เร็วกว่าเดิม40เท่าแน่ะคุณผู้อ่าน อืม เริ่มมองเห็นความเชื่องโยงกันแล้วไหมละครับผม


สมมุติฐานนี้ นำไปสู่แนวคิดที่ว่า พอไพรเมทเหล่านี้กินผลไม้ใกล้เน่าจนอิ่มแปล้ หรืออีกนัยนึง คือเมาปลิ้นนั่นเอง ระรอกแห่งความสุขในสมองของเจ้าลิงขี้เมาพวกนี้ มีผลทำให้เกิดความพึงพอใจกับวิถีชีวิตแบบใหม่(แบบเมาๆ) ความผ่อนคลาย เคลิบเคลิ้ม ความสุนทรีย์อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนนี้ เป็นตัวจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทั้งด้านภาษา ศิลปะ และศาสนา ว่ากันไปนั้นเลย คุณแพททริกยังบอกอีกว่า ความชื่นชอบในรสเมรัย น่าจะเป็นลักษณะการสืบสายพันธุ์จากวิวัฒนาการที่ฝังแน่น ซึ่งทำให้เราแตกต่างจากสัตว์อื่นๆส่วนใหญ่ ประมาณว่า รุ่งอรุณแห่งอารยธรรมมนุษย์มีเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์นี่แหละป็นตัวขับเคลื่อน โฮะ มันขนาดนั้นเชียวรึวะไอ้ทิดเฮิร์บ กระผมก็มิกล้าฟันธงหรอกขอรับ เพราะฟังเขามาอีกทีน่ะขอรับ เอิ้กๆๆๆ


เพลินดีไหมครับคุณผู้อ่าน แนวคิดพวกนี้เปิดโลกทัศน์ได้ดีทีเดียวครับ ส่วนจริงเท็จประการใดนั้นก็ไม่ต้องไปซีเรียสครับ ให้นักวิจัยเขาทำหน้าที่ของเขาไป เราก็แค่รอเขามาเล่าให้ฟังก็พอ ดีไหมครับ ผมตั้งใจให้ผู้อ่านทุกท่านสบายๆกับงานเขียนของผมอยู่แล้วครับ หากมันจะไปกระตุ้นต่อมความคิดของทุกท่านให้โลดแล่นบ้าง ก็คงจะดีไม่น้อย จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ เขาว่าไอสไตน์ว่าไว้อย่างงั้น ผมก็เอามาว่าต่อละครับ เอิ้กๆๆๆ


สารภาพกับคุณผู้อ่านว่า ขณะที่เขียนบทความนี้นั้น ผมเองก็กำลังเมาอยู่ครับ แหม มันเข้ากั๊น เข้ากันกับเรื่องที่เขียนอยู่ซะจริงจริ๊ง เอิ้กๆๆๆ


เอาละครับ สำหรับวันนี้คงสมควรแก่เวลาบอกลาคุณผู้อ่านอีกครั้งนึงแล้ว


แล้วพบกันใหม่ตอนหน้า ตอนที่ผมควรจะมีอะไรเข้าท่าๆมาให้อ่านกันอีก
สวัสดีครับ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าวดี มีมานานแล้วครับ

กราบสวัสดีคุณผู้อ่านที่รักทุกท่านอีกครั้งหนึ่ง หลังจากห่างหายไปจากการอัพเดต​บล็อค​ไปนาน ผมก็ขออนุญาต​กลับมาทำหน้าที่อีกครั่งหนึ่ง สำหรับวั...