วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

จะเป็นไปได้ไหมว่า.....

                                                                           

ผมได้ลองกลับไปอ่านทบทวนงานเขียนของผมเองในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา พบข้อบกพร่องมากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นนั่นคือ ความพยายามมากไปที่จะมีงานมาลงให้อ่านอย่างสม่ำเสมอ กล่าวคือไม่มีอะไรจะเขียนแล้วยังจะขืนเขียน เนื้อหาที่ออกมามันเลย ดูลวกๆกลวงๆไม่มีแก่นสารเท่าไหร่นัก คุณผู้อ่านเองคงรู้สึกได้ ซึ่งนั่น ผมเองจะปรับปรุงให้ดีขึ้นครับ

สำหรับวันนี้ผมมีคำถามที่จะฝากไปถึงผู้อ่านที่รักทุกท่าน ดังหัวข้อที่จั่วไว้ข้างต้น ว่ามันพอจะเป็นไปได้หรือไม่ อย่างไร

จะเป็นไปได้ไหมว่า ประเทศได้จะออกกฏหมายบังคับให้ผู้ประกอบการผู้ผลิตสินค้าและบริการรับผิดชอบต่อสินค้าและบริการนั้นๆเมื่อสิ้นอายุการใช้งาน

เช่น ถ่านไฟฉาย เมื่อใช้งานไม่ได้แล้ว โรงงานผู้ผลิต จะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อไม่ให้สินค้าใช้แล้วนี้ กลายเป็นขยะพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาจมีแนวทางดังนี้

-มีศูนย์รับคืนสินค้าในทุกอำเภอ แล้วส่งกลับสู่กระบวนการ รียูส รีไซเคิ้ล กำจัด อย่างใดอย่างหนึ่งนอกเหนือจากบริษัทเอกชนที่ประกอบการด้านนี้โดยตรง โดยบริษัทผู้ผลิต จะต้องแบ่งกำไรจากผลประกอบการส่วนหนึ่ง นำมาเพื่อสนับสนุน(เพราะผู้ผลิตสินค้าและบริการ ย่อมทราบดีว่ามีวัสดุหรือสารใดของสินค้าสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ หรืออย่างน้อยหากเป็นขยะพิษ ก็น่าจะทราบแนวทางในการจัดการขยะเป็นเหล่านั้นได้ดีกว่าปล่อยให้ประชาชนจัดการเองตามมีตามเกิด)

จะเป็นไปได้ไหมว่า ผู้ประกอบการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์จะให้ความสำคัญกับ

-ระบบการจัดการสิ่งปฏิกูลในภาคครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็นโครงการคอนโดมีเนียมหรือบ้านจัดสรร อาจมีแนวทางดังนี้

ออกกฏหมายให้ผู้ประกอบการ สร้างระบบการจัดการสิ่งปฏิกูล โดยมีแหล่งกักเก็บสิ่งปฏิกูล เศษอาหาร น้ำเสียส่วนกลางจากภาคครัวเรือน หมักเป็นก๊าซชีวภาพเพื่อประยุกต์ใช้เป็นพลังงานในโครงการหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมีเนียมที่พักอาศัยนั้นๆ ก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติ

จะเป็นไปได้ไหมว่า ห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆทั่วประเทศและที่กำลังจะสร้างขึ้น จะติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ไว้บนหลังคาของห้างหรือโรงงานนั้นๆ เพื่อลดการใช้พลังงงานไฟฟ้าจากส่วนกลาง ในฐานะที่ห้างฯและโรงงานนั้นใช้ทรัพยากรและพลังงานไฟฟ้ามากกว่าภาคครัวเรือน จึงควรมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมโดยลงทุนติดตั้งแผงสร้างพลังงานนี้ไว้ หากเป็นไปได้น่าจะขยายผลไปสู่อาคารสูง หน่วยงานราชการ โรงเรียน มหาวิทยาลัย ฯลฯ

เป็นไปได้ไหมว่า รัฐบาลจะพิจารณาทบทวนงบประมาณในการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ใหม่ โดยเปรียบเทียบกับแนวทางดังต่อไปนี้ ให้มีการศึกษาความคุ้มค่าถ้าหากรัฐจะมีนโยบายจูงใจให้ประชาชนทั่วไปติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่บ้านพักอาศัย โดยรัฐอุดหนุนแบบให้เปล่าครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อหนึ่งครัวเรือน อาจมีระบบผ่อนชำระรายเดือนสำหรับผู้มีรายได้น้อย ให้รัฐแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน ในการศึกษางบประมาณการอุดหนุนนี้กับงบฯในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยรวมกรณีศึกษาของโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะของญี่ปุ่นมา และการประกาศลดการใช้พลังงานนิวเคลียร์ของประเทศเยอรมันให้เหลือศูนย์ภายในยี่สิบปีประกอบการพิจารณาด้วย

เป็นไปได้ไหมว่า ประเทศไทย จะมีเตาเผาขยะที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานในทุกๆอำเภอทั่วประเทศ(สนับสนุนกิจกรรมในคำถามแรก)(เห็นเงินบริจาคจากศรัทธาของพุทธศาสนิกชนไทยกรณีเณรคำแล้ว คิดว่าน่าจะหาทุนไม่ยากหากรัฐไม่ยอมหนุน หุๆ)

คุณผู้อ่านคิดว่า สิ่งที่ผมถามไป มันพอมีทางเป็นไปได้ไหมครับ หรือว่ามันช่างเป็นเรื่องเหลวไหลเพ้อเจ้อ ไม่เข้าท่าเอาเสียเลย จะอย่างไรก็ตาม

ในทัศนของผม กฏระเบียบ ข้อบังคับ หรือแม้แต่กฏหมายนั้น ช่วยอะไรไม่ได้มากนักหรอก นอกจากจะไม่ได้รับความร่วมมือ เราอาจจะได้รับผลในทางตรงกันข้ามเสียด้วยซ้ำ คนเรามักเป็นอย่างนี้ อย่างที่เขาว่ากัน ผิดถูกรู้หมด แต่อดไม่ได้

ตอนหน้าผมจะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ในมุมมองที่ต่างออกไปจากที่เราๆท่านๆรู้กัน

จนกว่าจะพบกันใหม่ครับ

ข่าวดี มีมานานแล้วครับ

กราบสวัสดีคุณผู้อ่านที่รักทุกท่านอีกครั้งหนึ่ง หลังจากห่างหายไปจากการอัพเดต​บล็อค​ไปนาน ผมก็ขออนุญาต​กลับมาทำหน้าที่อีกครั่งหนึ่ง สำหรับวั...